สิ่งที่ควรคิดก่อนเป็นอันดับต้นๆคือ สินค้านั้นมีความคล่องในการลงโฆษณาหรือไม่ ดังนั้นเราควรศึกษาช่องทางการลงโฆษณาให้ดีที่สุด เวลาลงทุนกับสอนค้าไปแล้วจะไม่ไม่เสียดายที่นำมาขายในช่องทางที่ต้องการไม่ได้นั่นเอง
สำหรับผู้ที่ต้องการโปรโมทสินค้าผ่านเฟสบุ๊คให้พิจารณาข้อห้ามเหล่านี้ให้ดีๆ ว่าสินค้าที่คุณจะนำมาขายสามารถโปรโมทได้หรือไม่ครับ
1.สินค้า บริการ หรือกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
2.เนื้อหาที่เลือกปฏิบัติหรือสนับสนุนการเลือกปฏิบัติโดยอิงจากคุณลักษณะส่วนบุคคล เช่น เชื้อชาติ ชนชาติ สีผิว สัญชาติ ศาสนา อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ สถานะสมรส ความพิการ ภาวะทางการแพทย์หรือทางพันธุกรรมต่างๆ
3.สินค้าประเภทบุหรี่และยาสูบต่างๆ
4.ยาและสินค้าที่เกี่ยวกับยา หรือเป็นการโปรโมทการใช้ยาเพื่อผ่อนคลาย ยาตามใบสั่งแพทย์ หรือยาที่ควบคุมโดยกฎหมายต่างๆ
5.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ปลอดภัย หรือโปรโมทการขายหรือการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งการระบุว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปลอดภัยหรือไม่นั้นล้วนเป็นดุลยพินิจของ Facebook เอง ดังนั้นข้อนี้ แม้เราอาจจะเป็นแบรนด์อาหารเสริมที่ปลอดภัยก็จริงแต่หาก Facebook มองว่าไม่ปลอดภัยก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงโฆษณาบน Facebook ได้
6.อาวุธหรือวัตถุระเบิด หรือเป็นการโปรโมทการใช้อาวุธ ยุทธภัณฑ์ วัตถุระเบิด หรือเป็นโฆษณาอุปกรณ์ดัดแปลงอาวุธ
7.สินค้าหรือบริการสำหรับผู้ใหญ่ ยกเว้นการโฆษณาการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด โดยหากเป็นโฆษณายาคุมกำเนิดต้องโฟกัสไปที่คุณสมบัติการคุมกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เรื่องความพึงพอใจทางเพศหรือการเสริมสมรรถภาพทางเพศ และต้องกำหนดเป้าหมายไปยังผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น
8.เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ รวมถึงภาพโป๊เปลือย การแสดงให้เห็นภาพคนในท่าทางที่โจ่งแจ้งหรือส่อไปในทางเพศ หรือกิจกรรมที่ชี้นำหรือกระตุ้นเรื่องทางเพศจนเกินควร หรือเป็นโฆษณาที่สื่อถึงความสามารถในการเข้าถึงและดูเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ที่มีคนสร้างขึ้นมา
9.โฆษณาที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดสิทธิ์ของบุคคลที่สาม รวมไปถึงลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ความเป็นส่วนตัว หรือสิทธิ์ส่วนบุคคลหรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอื่นใด
10.เนื้อหาเร้าอารมณ์ที่ทำให้ตื่นตระหนก สะเทือนอารมณ์ ดูหมิ่น หรือมีการใช้ความรุนแรงมากจนเกินไป
11.โฆษณาที่แสดงลักษณะส่วนบุคคลหรือบ่งบอกถึงลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงการแสดงหรือบ่งบอกทั้งทางตรงและทางอ้อมถึงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อ อายุ รสนิยมทางเพศหรือเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศ ความพิการ สภาวะทางการแพทย์ (รวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิต) สถานะทางการเงินสมาชิกภาพในสหภาพการค้า ประวัติอาชญากรรม หรือใช้ชื่อแบบเหมารวมชื่อใดชื่อหนึ่ง (ข้อนี้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน แนะนำให้ลองไปดูตัวอย่างต้องห้ามที่ link นี้ https://www.facebook.com/…/prohibited_c…/personal_attributes)
12.เนื้อหาที่ให้ข้อมูลผิด ๆ เช่นข่าวลวง (fake news) โดยที่ Facebook มี partner ในการตรวจสอบกรณีผู้ลงโฆษณาให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้อง
13.เนื้อหาที่เป็นประเด็นถกเถียงทางการเมืองและสังคมเพื่อประโยชน์ทางการค้าต่างๆ
14.โฆษณาที่นำผู้ใช้งานไปยัง landing page ที่ใช้งานไม่ได้ รวมถึงเนื้อหาของ landing page ที่ขัดขวางไม่ให้ผู้ใช้งานออกจากหน้านั้นได้
15.อุปกรณ์สอดแนมต่าง ๆ หรืออุปกรณ์ติดตามโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สอดแนมอื่น ๆ
16.ถ้อยคำหยาบคายหรือมีไวยากรณ์และเครื่องหมายวรรคตอนที่ไม่ถูกต้อง หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงกระบวนการตรวจสอบโฆษณาของเราหรือระบบบังคับใช้อื่นๆ ตัวอย่างเช่น
17.ฟังก์ชั่นการทำงานที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง เช่นภาพที่ลอกเลียนปุ่มเล่นวิดีโอ (กราฟฟิกเลียนแบบปุ่มเล่นวิดีโอโดยที่ไม่ได้เป็นวิดีโอจริง ๆ )
18.Before & After เนื้อหาสุขภาพส่วนบุคคลที่มีภาพ “ก่อนและหลัง” หรือภาพที่มีผลลัพธ์ที่เกินจริงและไม่น่าเป็นไปได้ เนื้อหาโฆษณาที่ทำให้ผู้รับสารรู้สึกแย่กับรูปร่างหรือลักษณะของตัวเอง ตัวอย่างเช่นการโปรโมทรูปการลดน้ำหนัก หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอื่นๆ ซึ่งนี่น่าจะเป็นโฆษณาที่ Facebook disapprove มากที่สุดในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือลดน้ำหนัก หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่แสดงภาพ before & after
19.เนื้อหาประเภทเงินกู้ด่วนต่าง ๆ หรือเช็คล่วงหน้า หลักประกันเพื่อประกันตัว หรือเงินกู้ระยะสั้นอื่น ๆ โดยประสงค์ให้นำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายจนกว่าจะถึงวันจ่ายค่าจ้างถัดไปของผู้ที่จะใช้บริการ (การกู้เงินระยะสั้นหมายถึงการกู้เงินโดยมีระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน)
20.ธุรกิจเครือข่ายที่โปรโมทโอกาสในการสร้างรายได้ หรือโปรโมทโมเดลธุรกิจที่นำเสนอการคืนทุนในเวลาสั้น ๆ จากการลงทุนเพียงเล็กน้อย หากต้องการโปรโมทธุรกิจดังกล่าวจำเป็นต้องอธิบายถึงสินค้าหรือโมเดลธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
21.เนื้อหาเชิญชวนคนมาประมูลแบบมีค่าธรรมเนียมสิทธิ์การประมูล (Penny Auction หรือ Bidding Fee Auction) หรือโมเดลธุรกิจอื่นที่คล้ายกันนี้
22.โฆษณาโปรโมทบริการจัดทำหรือขายเอกสารเท็จ เช่น บัตรประจำตัวปลอม วุฒิการศึกษาปลอม หรือหนังสือเดินทางปลอม
23.เนื้อหาที่มีคุณภาพต่ำหรือที่เป็นการรบกวน เช่นที่นำไปสู่ landing page ที่มอบประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งรวมถึงการนำเสนอโฆษณาในลักษณะที่ชวนให้เข้าใจผิด เช่น หัวเรื่องที่สื่อความเกินจริงหรือกระตุ้นให้ผู้ใช้โต้ตอบกับโฆษณาโดยมิได้สมัครใจ และนำทางผู้ใช้ไปยัง landing page ที่มีเนื้อหาจริงเพียงเล็กน้อยแต่มีแต่เนื้อหาโฆษณาคุณภาพต่ำหรือไม่เกี่ยวข้องเป็นส่วนใหญ่
24.Spyware หรือ Malware หรือ software อื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือหลอกลวง ซึ่งรวมถึงลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่มีสินค้าเหล่านี้
25.แอนิเมชั่นอัตโนมัติ ที่มีเสียงหรือภาพเคลื่อนไหวแบบแฟลชที่เล่นโดยอัตโนมัติโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้กระทำการใดๆ หรือขยายโฆษณาภายใน Facebook หลังจากที่มีคนคลิกโฆษณานั้น (ข้อนี้เข้าใจว่า Facebook น่าจะระบุกันไว้กรณีมีคนสามารถ hack ระบบเพื่ออัพโหลด content ประเภทนี้ได้ เพราะด้วยระบบของ Facebook เองไม่ได้เอื้อให้อัพโหลด format ดังกล่าวอยู่แล้ว)
26.เนื้อหาโปรโมทอุปกรณ์สำหรับการสตรีมที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือสินค้าและสิ่งของที่ช่วยและส่งเสริมการเข้าถึงสื่อดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้าใจว่าน่าจะรวมถึงพวกเว็บไซต์ดูหนังหรือกีฬาที่ไม่ได้รับอนุญาตด้วย
27.การใช้ระบบต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการตรวจสอบโฆษณาของ Facebook หรือระบบบังคับใช้อื่นๆ ซึ่งรวมถึงเทคนิคที่พยายามปลอมแปลงเนื้อหาหรือหน้าปลายทางของ landing page
28.ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินต้องห้าม หรือโปรโมทสินค้าและบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการโปรโมทที่ชวนให้เข้าใจผิดหรือหลอกลวงอยู่บ่อยครั้ง ที่เจอเยอะๆ ช่วงหลังๆ คือพวก cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิตอลต่างๆ ที่หลอกให้คนไปลงทุน
29.การขายชิ้นส่วนของร่างกาย
30.เนื้อหาที่โฆษณาสินค้าและบริการเกินจริง เช่น สินค้าเกี่ยวกับ สุขภาพต่างๆ หรือการว่าจ้างงาน
31.โปรโมทธุรกิจที่หลอกลวง โดยตั้งใจหลอกเงินผู้สนใจลงทุนหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้แสวงหาผลประโยชน์